The King’s Man (2021) กำเนิดโคตรพยัคฆ์คิงส์แมน ที่ย้อนรอยกลับไปไกลถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 จับรวมไทม์ไลน์ประวัติศาสตร์ไว้อย่างไม่มีหลุด
The King’s Man (2021) กำเนิดโคตรพยัคฆ์คิงส์แมน ที่ย้อนรอยกลับไปไกลถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 จับรวมไทม์ไลน์ประวัติศาสตร์ไว้อย่างไม่มีหลุด
รอคอยภาคนี้มาก ด้วยความย้อนไปถึงยุคสมัยที่ชื่นชอบ แถมด้วยกับนักแสดงนำที่ชื่นชอบทั้ง Ralph Fiennes และ Gemma Arterton แต่ก็ต้องยอมรับกันตามตรงว่าภาคนี้ค่อนข้างเนือยพอสมควร โดยไม่ต้องเทียบกับสองภาคก่อนหน้า แอบรู้สึกผิดหวังอยู่หน่อย ๆ แต่ก็ไม่ได้ถึงกับแย่ แค่คงเอาไปขายต่อยาก
ความสนุกจริง ๆ ของ The King’s Man ภาคนี้เข้ามาเป็นช่วง ๆ เหมือนรอปล่อยของแค่เฉพาะตอนดวล เช่น ฉากปรากฏตัวของรัสปูตินหรือตอนดวลกับรัสปูติน ส่วนใหญ่ที่เหลือของเรื่องแล้วค่อนข้างเนือย ไม่มีอะไรน่าสนใจเป็นพิเศษ แม้จะมีความพยายามใส่มุกขำขันเล็ก ๆ น้อย ๆ ลงไปตลอดก็ตาม
อาจเพราะเนื้อเรื่องเกาะยุคสมัยตามไทม์ไลน์ประวัติศาสตร์ไปแบบไม่ปล่อย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่รู้ ๆ กันโดยทั่วไปอยู่แล้วจึงไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นหรือให้ลุ้นมากมายนัก แค่นั่งจับไทม์ไลน์ตามไปขำ ๆ กับมุกตลกโบ๊ะบ๊ะเบา ๆ ที่ใส่ไว้ให้ขำเล่น
ความน่าเสียดายอย่างหนึ่งคือการไม่ได้แสดงให้เห็นเครือข่ายคนใช้ที่ใช้อยู่ในเรื่องมากนัก ความเป็นองค์กรที่ให้ความรู้สึกว่าจะกลายเป็นคิงส์แมนต่อไป กลับถูกใช้เพียงแค่เอ่ยถึงเวลาจะใช้งานเท่านั้นแต่ไม่ได้เห็นฝีมือ จะเป็นหรือเลือกใช้ประโยชน์จากความไร้ตัวตนของสุภาพบุรุษให้ความรู้สึกงั้น ๆ จึงไม่ได้เห็นรูปแบบความเป็นสายลับอย่างภาคก่อน ๆ กลับพยายามมุ่งเน้นไปที่ความดราม่าของพ่อลูกเสียมาก ปล่อยให้รัสปูตินแย่งซีนความสนุกทั้งหมดไปและถ้าไม่มีรัสปูติน เราก็ไม่รู้ว่าเรื่องนี้ยังคงความสนุกไว้ได้มากแค่ไหน
ถึงอย่างนั้น The King’s Man ก็ไม่ได้หลุดประเด็นเรื่องการเบาะแว้งและสงครามระหว่างชาติ ความคับแค้นใจของผู้แพ้และชนะ ความไม่เสมอกันของโลกล่าอาณานิคมที่ไม่ได้เพียงเล่าถึงสงครามโลก แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความแตกต่าง ความคับแค้นใจของชาติที่ถูกปกครอง เช่นอังกฤษกับสกอตแลนด์ เอามาจับโยงกันกลายเป็นฉนวนแก้แค้น ซึ่งแม้ที่สุดภาพลักษณ์ของสกอตแลนด์จะออกมาดูไม่ดีเท่าไรก็ตาม และก็ยังคงเป็น ‘King’s Man’ อยู่ดี
The King’s Man ก็ยังคงซ่อนรายละเอียดเล็ก ๆ น้อยของจุดกำเนิดของสิ่งต่าง ๆ อันได้เห็นในภาคก่อนหน้าซึ่งเป็นไทม์ไลน์ไว้ในอนาคตได้ดี แต่ก็เสียดายที่ไม่ได้มากพอจะทำให้หนังสนุกจริง ๆ ได้ คือมันก็สนุก แต่เราไม่รู้สึกว่ามันสุดขนาดนั้น
สิ่งหนึ่งที่ต้องยกนิ้วให้ ‘เป็นการส่วนตัว’ คือบท Polly ของ Gemma Arterton ด้วยว่าบทบาทของผู้หญิงที่ดูนำสมัยไปจากยุควิกตอเรียหรือเอ็ดเวิร์ดเดียนนั้นเหมาะสมกับ Gemma มาก และฉากตอนเปิดตัวครั้งแรกที่หันมามอง Orlando Oxford ก็คือ “แต่งค่ะ” ไม่ใช่! จะบอกว่าบทผู้หญิงในยุคสมัยแบบนี้มันทำให้เจมม่าดูมีเสน่ห์…นั่นเอง
Who brought that painting out?
0 ความคิดเห็น